การโพสต์นี้เป็นการยืนยันความเป็นเจ้าของไซต์ของฉันและไซต์นี้เป็นไปตามนโยบายโปรแกรมของ Google AdSense และข้อกำหนดในการให้บริการ

griffin: กุมภาพันธ์ 2011

ads

วันจันทร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การเลือกซื้อจักรยานเสือภูเขาเบื้องต้น

หลายท่านคงเริ่มเห็นจักรยานเสือภูเขาเริ่มหนาตามากขึ้น แต่ก็ยังลังเล ไม่รู้จะเร่ิมต้นยังไง เรามาว่ากันบทยาวๆเลยครับ เริ่มตามหัวข้อเลยครับ
1.อย่าซื้อจักรยานตามห้าง เพราะพนักงานในห้างไม่ได้ผ่านการอบรมในเรื่องการวัดขนาดจักรยานมาอย่างถูกต้อง เพราะจักรยานก็เหมือนเสื้อผ้า มีไซส์ต่างๆให้เราเลือก ให้เหมาะสมกับความสูง
2.ถ้าอยากขี่อย่างจริงจัง พยายามเลี่ยงจักรยานมือสองจากญีู่ปุ่น แต่ถ้าต้องการจริงๆพยายามซื้อกับร้านที่ไว้ใจได้ เพราะ จักรยามือสองจากญี่ปุ่นส่วนใหญ่ขายกันแพงเกินความเป็นจริงค่อนข้างมาก ซึ่งในราคาที่เท่ากัน เราสามารถหาจักรยานมือหนึ่งได้โดยเพิ่มเงินอีกไม่เท่าไหร่
3.แวะเข้าหาความรู้ก่อน ในที่นี้ขอแนะนำ bikeloves.com หรือ thaimtb.com แต่หลังๆมา แต่ถ้าอยากได้เนื้อหาเพียวๆ ความรุ้แน่นๆ ให้ไปที่ bikeloves.com ก่อน
4.ราคาเสือภูเขาไม่ได้แพงอย่างที่คิด มีราคาตั้งแต่ พันปลายๆไปจนถึงหลักแสน ทุกคนมีสิทธิเอื้อม หมดสมัยแล้วที่บอกว่า เสือภูเขาเหมาะกับคนมีเงิน
5.ซื้อมาแล้วก็ปั่นๆๆๆๆซะครับ ไม่งั้นจะซื้อมาถูกแค่ไหน ถ้าไม่ปั่นก็ถือว่าแพงอยู่ดี บทต่อไปว่าเรื่อง การเลือกซื้อแบบละเอียดๆอีกทีครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Genesis Geometry องศาเฉพาะของ gary fisher

เจเนซิส แตกต่างจากองศาอื่นยังไง เจเนซิสถือกำเนิดมาจาก การแก้ไขอาการหัวทิ่มพุ่งข้ามแฮนด์ของนักปั่น หรือของตัว นาย gary เอง ซึ่งในยุคนั้นองศาของเฟรมยังเป็นแบบold schoolอยู่มาก องศาแบบนี้จะมีท่อบนที่สั้น ใช้เสต็มที่ยาวกว่า 100 หน้าไว น้ำหนักไปด้านหน้าเยอะ ซึ่งจะเข้าซิงเกิ้ลแทรคได้ดี ขึ้นเขาชันๆได้ดี แต่ลงเขาทีนึงก็หนาวไปตามๆกัน โดยการทำให้น้ำหนักตัวของนักปั่นเยื้องไปด้านหลังมากขึ้นโดยการ ลดความยาวของเชนสเตย์ให้สั้นลงกว่าองศาของเฟรมทั่วไปประมาณ 8 มม แล้วมีองศาของท่อนั่งชันขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้ท่อบน สั้นลง แต่กลับตรงกันข้าม ท่อบนกลับยาวขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าท่อนั่งได้เลื่อนมาด้านหลังด้วยเช่นกัน(ใช้จุดยึดท่อนั่งกับท่อบนเป็นcenter แต่เลื่อนรอยต่อในส่วนใกล้กระโหลกถอยมาด้านหลังอีกหนึ่งองศา) โดยการชดเชยความยาวเชนสเตย์กับการเลื่อนขององศาท่อนั่งนี้ ทำให้ไม่มีผลต่อฐานล้อให้เพิ่มขึ้น ส่วนท่อบนจะยาวกว่าเฟรมทั่วไปประมาณสองเซ็นต์ สังเกตุได้จากรถประกอบเป็นคันของแกรี่ ฟิชเชอร์ ที่ใช้ genesis geometry ยุคแรกๆจะมีสเต็มที่สั้นเอามากๆ เฉลี่ยแล้วไม่เกิน 70-80มม แล้วก็ได้กลายมาเป็นต้นแบบในการออกแบบเฟรมมาจนถึงปัจจุบัน แม้กระทั่งเฟรมปรินซิเปีย ปี2003-2006ก็ยังได้รับอิทธิพลนี้ไปด้วยเช่นกัน

Frame Principia ดียังไง

เฟรม ปรินซิเปีย ดียังไง ทำไมถึงได้วิเศษนัก
ด้วยความชอบส่วนตัว ทำให้มีเฟรมปรินซิเปียผ่านมือผมมาประมาณห้าเฟรม ห้ารุ่น สามปี และองศาที่แตกต่างกันสองแบบ ทำให้ผมยิ่งสัมผัสความเป็นตัวตนของเฟรมปรินซิเปียได้มากเท่าที่มากได้ ผมรู้จักเฟรมนี้ครั้งแรก ในปี
2002 ผ่านเว็บไซต์ของป๋าลู ซึ่งก็คือ bikeloves.com โดยป๋าลูได้รีวิวได้อย่างลึกซึ้ง และเท่าที่ผมจับจุดเด่นหลักของเฟรมนี้ได้ ก็คือ เป็นเฟรมองศา แบบ Old school หรือเฟรมที่ท่อบนสั้น หน้าไว ควบคุมยาก พุ่ง เหมือนม้าพยศ ซึ่งถ้าใครเอามันอยู่ล่ะก็ มันส์ แน่นอน
และเท่าที่ผมสัมผัสมันมา principiaเป็นเฟรมที่ พุ่ง และนุ่มนวลในขณะเดียวกัน ด้วยวัสดุที่มีความแข็งสูงอย่าง อลูมิเนียม รหัส
7020-T6 บวกกับการรีดท่ออย่างชาญฉลาด ทำให้ปรินซิเปียก้าวข้าม จุดด้อยในเรื่องความกระด้างของอลูไปได้ บทความนี้เอาแค่ภาพรวมกันก่อนนะครับ

วัสดุต่างๆในการผลิตเฟรมจักรยาน

หลายท่านคงสงสัยว่าวัสดุในการผลิตเฟรมมีมากมาย และแต่ละชนิดมีผลต่อการขับขี่ยังไง
ผมจะเริ่มจากวัสดุที่ใช้ผลิตเฟรมหลักก่อนเลย

1.อลูมิเนียม ซี่รี่ 7000 ซี่รี่ 6000
- อลูมิเนียมในซี่รี่ 7000 เราจะพบได้มากในรหัส 7005 เป็นอลูที่มีความแกร่งอยู่ในตัว โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการอบอ่อนที่เรียกว่า T6 ซึ่งมีต้นทุนในการทำสูงมาก แต่ขณะเดียวกันเฟรมที่มีความแข็งแกร่งนี้ก้จะไม่นิยมนำมาผลิตเฟรมที่มีลักษณะโค้งงอ เพราะความแข็งของมันนั่นเอง ส่วนใหญ่จะพบเฟรมในรหัสกับเฟรมจักรยานรุ่นล่างๆ ส่วนอลูรหัส 7075 จะนิยมมาทำพาร์ทต่างๆแทน
- อลูมิเนียม ซีรี่ 6000 ในที่นี้ขอพูดถึง 6061 เป็นอลูที่มีความอ่อนตัวมากกว่าอลูในซีรี่7000 สามารถทำเฟรมที่มีลูกเล่นและลักษณะที่ออนช้อย สวยงามได้ดี แต่หลังจากนั้นก็จำเป็นจะต้องได้รับการอบที่อุณภูมิระดับ T-6 เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งอีกครั้ง สังเกตุได้ว่าเฟรมรหัสนี้ จะมีราคาสูง แต่ก็มีบ้างที่บาง ยี่ห้อ มั่วนิ่มโดยการแจ้งว่าเฟรมนี้รหัส 6061 แต่ไม่มี T-6 ซึ่งก็มีราคาแตกต่างกันมากพอสมควร
*** เฟรมยี่ห้ออื่นส่วนใหญ่เพื่อผลทางการค้า จะสร้างชื่อวัสดุในแบบของตัวเอง แต่ส่วนใหญ่ก็มาจากพื้นฐานของวัสดุเหล่านี้เช่นกัน เช่น
-- CU-92 ของไจแอ้นท์ก็คือ 6013
-- 7020 T-6 อยู่ในเฟรม ปรินซิเปียปีเก่าๆ ถัดจาก 2004 ลงไป
2.ไททาเนี่ยม
ไททาเนี่ยม ไม่ใช่วัสดุที่สร้างมาเพื่อผลิตเฟรมที่เบาโหว๋ง แต่มันสามารถนำมาผลิตเฟรมที่มีฟิลลิ่งในการขี่ได้อย่างน่ามหัศจรรย์ นุ่ม ทน เบา แต่ขณะเดียวกันวัสดุชนิดนี้ถ้าไม่ได้รับการออกแบบมาอย่างดี ก็อาจจะกลายเป็น เฟรมที่ไม่ได้เรื่องเลยก็ได้ เพราะด้วยความนุ่มของวัสดุ จึงจำเป็นต้องมีการรีดท่อ และการดัดท่อ เพื่อไม่ให้เฟรมมีการให้ตัวได้มากเกินไป

3.สแกนเดียม
เบา ดิบ พุ่งสุดขั้ว กระด้างอย่างไม่น่าให้อภัย คือจุดเด่นของวัสดุชนิดนี้ รหัสที่พบบ่อย คือ
SC-7000 คือการนำสแกนเดียมเจือลงไปในอลูเกรด 7000 เฟรมที่ทำจากวัสดุนี้ที่ดังมากคือ TOMAC OO BUCKSHOT / ROCKY MOUNTAIN Team SC /และจะลืมไปไม่ได้เลยสำหรับม้าศึกของ แชมโอลิมปิคตัวจิ๋ว มิเกล มาติเนซ คือ Full Dynamix รุ่น Monster Plus
4.โครโมลี่หรือเหล็ก
หรือที่บ้านเราเรียกเฟรมโครโม เดิมทีเราคงเคยได้ยินเฟรมโครโมลี่ รหัส 4130 กันบ่อยๆ เพราเป็นรหัสพื้นฐานที่เห็นได้บ่อยๆกับอีกชนิดคือ High tensile แต่ในที่นี่เราขอกล่าวถึง Renold 853 ก่อนนะครับ เฟรมเหล็กรุ่นสูงๆ ที่นำมาผลิตเฟรมในปัจจุบัน มีคุณสมบัติที่ทน เบาพอสมควร หลายท่านอาจจะคิดว่าคุณสมบัติมันคล้ายๆกับ ไททาเนี่ยม แต่จริงๆแล้ว เหล็กก็ยังเป็นรองไททาเนี่ยมอยู่ครับ ทั้งในเรื่องความเบา การดูแลรักษา และความทนทาน แต่ที่แตกต่างกันคือ ราคา ที่ต่างกันถึง 3-4 เท่า แต่ในความเห็นส่วนตัวผมชอบฟิลลิ่งของเหล็กมากกว่า เพราะมันให้ความรู้สึกพุ่งและไม่ย้วยเท่ากับไททาเนี่ยม
5.คาร์บอนไฟเบอร์
คาร์บอนไฟเบอร์ ผมคงไม่สามารถตอบได้ว่า เฟรมที่ทำจากวัสดุชนิดนี้มีฟิลลิ่งเป็นเช่นไร เพราะขึ้นอยุ่กับการออกแบบของผุ้ผลิตเป็นหลัก แต่จุดเด่นของมันคือ ความเบา และการออกแบบที่ไม่จำกัดอย่ในกรอบของวัสดุ เราสามารถทำให้เฟรมชนิด กระด้างสุดๆ หรือ ย้วยสุดๆก็ยังได้ แต่เฟรมชนิดนี้ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่ที่การ รับแรงกระแทกในส่วนของผิว ซึ่งการทำเฟรมให้เบา ก้ต้องมีผิวที่บาง ซึ่งรับแรงกระแทกได้ไม่ดีเท่ากับ เฟรมโลหะชนิดอื่นๆ ส่วนข้อวิตกกังวลมาตลอดเรื่อง ความร้อนของบ้านเราทำให้เรซิ่นที่เห็นตัวประสาน แตกร้าวได้ ผมเคยใช้เฟรม ที่เป็นท่อลัก มาเกือบห้าปี ก็ยังไม่เคยเกิดปัญหานี้เลยซักที

**** บทความทั้งหมดมาจากประสบการณ์ส่วนตัวและ ข้อมูลทางวิชาการบางเล็กน้อย โปรดใช้วิจารณญาณในการชม

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เราควรเปลี่ยนโซ่เมื่อไหร่กันดี


อายุการใช้งานของโซ่นั้น เราจะวัดจากอัตราการยืดของโซ่เป็นหลักนะครับ
การยืดของโซ่จะเกิดได้จากการใช้งานที่ยาวนานเกินไป หรือการใช้อัตราการทดเฟืองที่ผิดธรรมชาติ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้กับนักปั่นมือใหม่ หรือ ยืดจากการใช้แรงเค้นอย่างมาก ซึ่งเกิดจากนักปั่นที่เป็นนักแข่ง เรามาเริ่มกันเลยครับ
การวัดการยืดของโซ่ ในที่นี้ขอสงวนเฉพาะ 9 speedนะครับ
1) ใช้เครื่องวัดโซ่ มีทั้งของถูกและแพง ในที่นี้ผมใช้ของ parktool นะครับ

2) ใช้ฟุตเหล็กในการใช้งานนะครับ เราจะไม่ใช้ไม้บรรทัดเนื่องจากฟุตเหล็กเริ่มเสกล 0 ที่ขอบส่วนไม้บรรทัดไม่ค่อยจะมี และที่สำคัญฟุตเหล็กมาตรฐานสูงกว่า และความแม่นยำดีกว่า จากนั้นเราก็ ทาบฟุตเหล็กไปกับแนวยาวด้านข้างของตัวโซ่ โดยโซ่ต้องอยุ่ในนสภาพตึงที่สุด หรือจะวางบนพื้นก็ได้ และใช้ด้านนิ้ว ทาบตำแหน่ง 0 นิ้วที่หมุดสักจุดหนึ่ง
แล้วก็ดูที่ตำแหน่ง 12 นิ้ว สังเกตตำแหน่งข้อโซ่ โซ่จะยังใช้งานได้ถ้าหมุดอยู่ในตำแหน่งไม่เกิน 12นิ้ว+1/16นิ้ว ถ้าเกินนี้โยนทิ้งได้เลยครับ เพราะอาจจะสร้างความเสียหายให้กับเฟืองหลัง รวมถึงจานหน้าที่ราคาแพงกว่าได้


ข้อควรระวังในการใช้เฟรมไททาเนี่ยม
















ข้อควรระวังของการใช้ เฟรมจักรยานที่ทำจากไททาเนี่ยม

ข้อควรระวังของอลูมิเนียมและไททาเนี่ยม คือการเกิด กัลวานิค corrosion จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปัจจัย 3 อย่างดังต่อไปนี้

1) โลหะทั้งคู่จะต้องมีค่าความต่างทางลำดับของ galvanic หรือ electricalchemical series นี่คือตัวเริ่มต้นของตัวการ โดยเราจะอ้างอิง โดยมีโลหะตัวกลางที่ใช้เทียบและกำหนดให้มันมีศักดิ์เป็น 0 เราใช้ Standard Calomel Electrode แล้ววัดเทียบกับโลหะตัวอื่น เป็นชาร์ทแสดงผลโดยตารางจะบอกเป็น anodic หรือ least noble (เหมือนขั้วลบ) และ cathodic หรือ noble (เหมือนขั้วบวก) ตารางจะแสดงค่าว่าควรเอาโลหะสองชนิดมาวางใกล้กันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น อลูมิมีค่าประมาณ -0.8 ถึง -1.0 ส่วนไททาเนียมมีค่าประมาณ 0 ถึง -0.2 สังเกตุได้ว่าตัวเลขต่างกัน ซึ่งไม่สมควรเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเกิดขึ้นด้วยวิธีง่ายๆดังนี้
1) หลีกเลี่ยงการเอาโลหะสองชนิดที่มีตัวเลข galvanic series ต่างกันมากๆมาสัมผัสกัน เช่นในวงการจักรยาน ไม่ควรเอาอลูมิเนียมมาใช้ร่วมกันกับไททาเนียม หรือการนำโลหะสองชนิดให้สัมผัสกัน และถ้ามันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ดูวิธีแก้ไขในหัวข้อด้านล่างต่อ
2) ถ้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราก็ควรสร้างฉนวนกั้นกลาง เช่นเฟรมไททาเนียมใช้หลักอานขนาด 31.6 มม. แต่เราจะใส่ขนาด 27.6 มม. แทนโดยการแปลงอะแดปเตอร์ที่เป็นพลาสติกไปใส่แทน ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ไปได้บ้าง
3) ไม่ควรให้มีสารตัวนำทางไฟฟ้า แทรกระหว่างกลางโลหะทั้งสองชนิด แก้โดยการนำจารบีที่ใช้สำหรับป้องกันการเชื่อมติดกันสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายบริษัทได้ผลิตออกมา โดยสังเกตุได้จากฉลาก จะมีคำว่า antizise ซึ่งมีคุณสมบัติเกาะกับวัสดุได้ดีกว่าจารบีทั่วไป

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

About Bikecrazyclub Team

ไบค์เครซี่คลับเป็นกลุ่มจักรยานที่ตั้งขึ้นมาจาก กลุ่มคนรักจักรยานทั้งในการปั่นเพื่อการท่องเที่ยวและการแข่งขันบ้างในบางครั้ง พวกเราประกอบไปด้วยกลุ่มคนหลายหลายอาชีพ