การโพสต์นี้เป็นการยืนยันความเป็นเจ้าของไซต์ของฉันและไซต์นี้เป็นไปตามนโยบายโปรแกรมของ Google AdSense และข้อกำหนดในการให้บริการ

griffin: ข้อควรระวังในการใช้เฟรมไททาเนี่ยม

ads

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อควรระวังในการใช้เฟรมไททาเนี่ยม
















ข้อควรระวังของการใช้ เฟรมจักรยานที่ทำจากไททาเนี่ยม

ข้อควรระวังของอลูมิเนียมและไททาเนี่ยม คือการเกิด กัลวานิค corrosion จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีปัจจัย 3 อย่างดังต่อไปนี้

1) โลหะทั้งคู่จะต้องมีค่าความต่างทางลำดับของ galvanic หรือ electricalchemical series นี่คือตัวเริ่มต้นของตัวการ โดยเราจะอ้างอิง โดยมีโลหะตัวกลางที่ใช้เทียบและกำหนดให้มันมีศักดิ์เป็น 0 เราใช้ Standard Calomel Electrode แล้ววัดเทียบกับโลหะตัวอื่น เป็นชาร์ทแสดงผลโดยตารางจะบอกเป็น anodic หรือ least noble (เหมือนขั้วลบ) และ cathodic หรือ noble (เหมือนขั้วบวก) ตารางจะแสดงค่าว่าควรเอาโลหะสองชนิดมาวางใกล้กันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น อลูมิมีค่าประมาณ -0.8 ถึง -1.0 ส่วนไททาเนียมมีค่าประมาณ 0 ถึง -0.2 สังเกตุได้ว่าตัวเลขต่างกัน ซึ่งไม่สมควรเป็นอย่างมาก ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงไม่ให้มันเกิดขึ้นด้วยวิธีง่ายๆดังนี้
1) หลีกเลี่ยงการเอาโลหะสองชนิดที่มีตัวเลข galvanic series ต่างกันมากๆมาสัมผัสกัน เช่นในวงการจักรยาน ไม่ควรเอาอลูมิเนียมมาใช้ร่วมกันกับไททาเนียม หรือการนำโลหะสองชนิดให้สัมผัสกัน และถ้ามันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ก็ดูวิธีแก้ไขในหัวข้อด้านล่างต่อ
2) ถ้าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราก็ควรสร้างฉนวนกั้นกลาง เช่นเฟรมไททาเนียมใช้หลักอานขนาด 31.6 มม. แต่เราจะใส่ขนาด 27.6 มม. แทนโดยการแปลงอะแดปเตอร์ที่เป็นพลาสติกไปใส่แทน ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาในส่วนนี้ไปได้บ้าง
3) ไม่ควรให้มีสารตัวนำทางไฟฟ้า แทรกระหว่างกลางโลหะทั้งสองชนิด แก้โดยการนำจารบีที่ใช้สำหรับป้องกันการเชื่อมติดกันสำหรับจักรยานโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายบริษัทได้ผลิตออกมา โดยสังเกตุได้จากฉลาก จะมีคำว่า antizise ซึ่งมีคุณสมบัติเกาะกับวัสดุได้ดีกว่าจารบีทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น